วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 17
วันอังคาร ที่ 25 กันยายน พ.ศ.2555
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ  Tablet ลงในแผ่นกระดาษ และได้ให้นักษาร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกันอีกครั้ง
- อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการประเมินผลในตัวนักศึกษา
- อาจารย์บอกถึงแนวข้อสอบที่จะออก
- อาจารย์ตรวจบล๊อกเกอร์ของแต่ละคนว่าพบปัญหาหรือไม่ ?
- วิธิการเรียนรู้ มีหลายอย่างดังนี้
  1.กระบวนการแก้ปัญหา
  2.ระดทความคิด
  3.เขียนบันทึก
  4.สืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง
  5.การเป็นแบบอย่าง
  6.ลงมือปฏิบัติ
  7.แผนที่ความคิด
  8.บูรณาการ 





วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16
วันอังคาร ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2555
 
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ 
1.วันนี้นำเสนองานที่เราไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
   

ข้อแนะนำจากอาจารย์
1.เวลาที่เราออกไปพูดควรเกริ่นนำเนื้อหาก่อนเวลาที่พูด
2.พูดแนะนำตัวทุกคน
3.เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หรือไม่


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15
วันอังคาร ที่ 11 กันยายน พ.ศ.2555
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ 

 1.จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
เรื่องแก้วแรงดัน
- การทดลองแรงดันอากาศเวลาอยู่ใต้น้ำ
- แรงดันอากาศที่อยู่ภายใต้น้ำจะเป็นอย่างไร?
อุปกรณ์ 1.แก้วน้ำ 2.ลูกปิงปอง 3.ทิชชู่ 4.อ่างใส่น้ำ
การทดลอง
1.เมื่อเราใส่ลูกปิงปองในน้ำลูกปิงปองก็จะลอยปกติ พอลองกดลูกปิงปองแล้วปล่อยมือมันก็จะลอยขึ้นมาเหมือนเดิม 
2.เมื่อเรากดลูกปิงปองด้วยแก้วน้ำลูกปิงปองจะอยู่ปากแก้ว เพราะแรงดันอากาศทำให้น้ำไม่สามารถเข้าไปในแก้วได้ ลูกปิงปองจึงไม่สามารถลอยขึ้นมาได้จะอยู่เสมอระดับปากแก้ว แสดงให้เห็นว่าในแก้วนั้นมีอากาศอยู่ และอากาศภายในแก้วมีแรงดันมากกว่าอากาศภายนอกแก้ว อากาศภายในแก้วจึงดันไว้ไม่ให้อากาศภายนอกดันลูกปิงปองหรือน้ำไม่ให้เข้าไปในแก้ว
3.ใส่กระดาษทิชชู่ลงไปในแก้ว แล้วคว่ำลงไปในอ่างน้ำ ผลการทดลองคือ กระดาษทิชชู่แห้งปกติเป็นเรื่องของแรงดันอากาศที่อยู่ภายในตัว 
*ข้อสังเกต แต่ถ้าเอียงแก้วน้ำแล้วกดลงไปที่ผิวน้ำ ก็จะมีน้ำส่วนหนึ่งไหลเข้าไปในแก้วได้ เพราะมีช่องเปิดอากาศไหลออกมาน้ำจึงไหลเข้าไปแทนที่ ประโยชน์นี้นำไปใช้ประโยชน์ในการดูดหมึกไล่หมึกออกหรืการใช้เข็มฉีดยา






 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14
วันอังคาร ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2555
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

1.ส่งงานการจัดทำป้ายนิเทศ

2.ส่งงานกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ อาจารย์แนะนำขั้นตอนการเตรียมงานวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปลงปฎิบัติในโรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

งานที่ได้รับมอบหมาย
1.จัดกิจกรรม ทดลองวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13
วันอังคาร ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2555
 *ไม่มีการเรียนการนอนเนื่องจากอาจารย์ประชุม 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12
วันอังคาร ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2555
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ


   
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
แนวคิด คือ แก่นเนื้อหาสาระที่ใช้เชื่อมโยงในสิ่งที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมวิทยาศาสตร์

1.กิจกรรมใครใหญ่
แนวคิด : น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดของมือคร
ขั้นตอน

1.นำขวดน้ำใสวาง
2.เทน้ำลงไปในขวดครึ่งขวดและทำเครื่องหมายเอาไว้
3.ให้เด็กนำมือของตนเองมาหย่อนลงไปในน้ำทีละคน
4.ครูทำเครื่องหมายสรุปเอาไว้
5.ครูและเด็กช่วยกันสรุป
สรุปผล
ระดับน้ำในขวดแล้วใสจะสูงขึ้นมากกว่าเดิมตามขนาดฝ่ามือของเด็ก

2.กิจกรรมใบไม้สร้างภาพ

แนวคิด : สีจากใบไม้สามรถสร้างภาพได้เหมือนจริง
ขั้นตอน

1.เด็กสังเกตุใบไม่ที่เก็บมา
2.นำกระดาษวาดเขียนมาพับเป็นสองส่วนเท่าๆกัน
3.วางใบไม่ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่พับเอาไว้
4.ใช้ค้อนเคาะเบาๆ บริเวณที่มีใบไม้อยู่
5.เมื่อเปิดกระดาษออกให้เด็กช่วยหาเหตุผล
สรุปผล

1.น้ำสีจากใบไม่จะเป็นรูปร่างบนกระดาษ
2.โครงร่างที่ได้จะเหมือนใบไม้ทุกประการ
3.สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติ เราจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

3.กิจกรรมมาก่อนฝน

แนวคิด : น้ำเมื่อได้รับความร้อน บางส่วนจะกลายเป็นก๊าซ เรียก ไอน้ำ
ขั้นตอน

1.นำขวดแก้วที่แช่เย็นมาให้เด็กจับและถามความรู้สึก
2.เทน้ำอุ่นไว้ประมาณครึ่งขวด วางน้ำแข็งไว้บนปากขวด
3.เด็กสังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น
4.อาสาสมัครเป่าลมเข้าไปในขวดที่สอง
5.เมื่อหยุดเป่าลมจะเห็นกลุ่ม เมฆจางๆ
สรุปผล

1.เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวด ควบแน่นเพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง
2.กลุ่มเมฆจางๆ ในขวดเกอดจากอากาศในขวดขยายตัวและแผ่กระจาย
3.สภาพภายในขวดเย็นลง ดังนั้นไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่นกลายเป็นไอเมฆหรือละอองน้ำ

4.กิจกรรมทำให้ร้อน

แนวคิด : แรงเสียดทานเป็นแรงพยายามซึ่งหยุดการลื่นไหล ไปบนสิ่งต่างๆ พลังงานจำเป็นต้องเอาชนะแรงเสียดทาน แรงเสียดทานนี้เป็นความร้อน
ขั้นตอน

1.ครูแจกดินสอและหนังสือใหเด็กคนละหนึ่งชุด
2.ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
3.นำดินสอมาถูกับสันหนังสือประมานสามวินาที
4.นำดินสอมาแตะกับผิวหนัง
5.เด็กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส

สรุปผล
1.แรงเสียดทานหนังสือกับสันหนังสือทำให้เกิดความร้อน
2.นำส่วนที่ถูกับสันของหนังสือมาแตะที่ผิวหนังส่วนใดส่วนหนึงโดยเฉพาะริมฝีปากจะมีความรู้สึกว่าร้อน



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11
วันอังคาร ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2555
 *ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
  แต่นัดมาเรียนชดเชยวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2555